ตลาดหลักทรัพย์ไทย
แนวต้าน 1,300 – 1,306 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก จากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ดัชนีตลาดปิดที่ 1,261.81 จุด เพิ่มขึ้น 8.89 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.67 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 11
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธ (22/4) ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 456 จุด หลังราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ หลังจากดิ่งลงในแดนลบ ตลาดยังถูกครอบงำจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวออกด้านข้างและมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่าง (Gap) ที่ 1,272 – 1,364 จุด และมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement (1852/969 จุด) อยู่ที่ 1,306 จุด ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายออกมาเป็นระยะ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับของช่องว่างที่ 1,184 – 1,150 จุด
ระยะสั้นจึงควรระวังดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ เพราะจะเป็นสัญญาณที่ดัชนีตลาดพักตัวลงปิดช่องว่างที่ 1,184 – 1,150 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงมาทำจุดต่ำที่ 969 จุด จากที่ได้วิเคราะห์ไว้คลื่น II,E มีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) ที่ 942 จุด ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นอย่างร้อนแรง เมื่อนำจุดสูงที่ 1,852 จุด กับจุดต่ำที่ 969 จุด มาวิเคราะห์แนวต้านจะได้ ดังนี้
38.0% Fibonacci Retracement = 1,306 จุด
50.0% Fibonacci Retracement = 1,410 จุด และ
61.8% Fibonacci Retracement = 1,515 จุด
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,153 – 1,083 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,273 – 1,285 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,247 – 1,234 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ทยอยกลับเข้าซื้อหุ้นรายตัว (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,083 จุด